คุณกำลังมองหาอะไร?

 

อำนาจหน้าที่กลุ่มตรวจสอบภายใน
(ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอนามย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๒)

กลุ่มตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบ การดำเนินงานภายในกรมกรมอนามัย
และสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรม รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี กรมอนามัย โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

บทบาทหน้าที่ของกลุ่มตรวจสอบภายใน

สายการบังคับบัญชา (Chain of Command)

วัตถุประสงค์ (Object)

เพื่อสร้างคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติราชการของหน่วยรับตรวจให้ดียิ่งขึ้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การใช้จ่ายเงินมีความคุ้มค่า ข้อมูลรายงานทางการเงินมีความครบถ้วนถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันเวลา การปฏิบัติงานถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ป้องกันข้อผิดพลาดลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต การรั่วไหล โดยผลักดัน สนับสนุนและส่งเสริม ให้ทุกหน่วยงานมีการจัดวางระบบการควบคุมภายในตามหลักกระทรวงการคลังว่าด้วย มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 มีกลไกในการกำกับดูแลที่เหมาะสม การบริหารงานเป็นไป ตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ดังนี้


อำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ (Authority)

  1. กลุ่มตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกหน่วยงานของกรมอนามัย อำนาจในการเข้าถึงบุคลากร ข้อมูล เอกสาร ทรัพย์สิน รวมถึงข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน การให้ข้อคิดเห็น (Comments) ข้อเสนอแนะ (Recommendations) และให้คำปรึกษาต่ออธิบดี รองอธิบดี ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารในเรื่องเกี่ยวกับนโยบาย และการดำเนินงานของกรมอนามัย เพื่อรับทราบข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน
  2. ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความเป็นอิสระ หรือมีความเที่ยงธรรม ในการตรวจสอบตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน ในกรณีที่มีเหตุหรือข้อจำกัดที่จะทำให้ผู้ตรวจสอบไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นอิสระหรือเที่ยงธรรม ผู้ตรวจสอบภายในต้องเปิดเผยถึงเหตุหรือข้อจำกัดดังกล่าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบตามความเหมาะสม โดยลักษณะของการเปิดเผยจะขึ้นอยู่กับเหตุหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณี

ขอบเขตการปฏิบัติงาน (Scope of Work)

กลุ่มตรวจสอบภายในปฏิบัติงานตรวจสอบภายในครอบคลุมงานด้านการบริการให้ความเชื่อมั่นและบริการให้คำปรึกษา โดยการตรวจสอบระบบการทำงาน เอกสาร หลักฐาน รายงาน บุคลากร และทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้านการเงิน การบัญชี การตรวจสอบการดำเนินงาน การวิเคราะห์อย่างเที่ยงธรรมการประเมินความเพียงพอเหมาะสมของระบบควบคุมภายใน รวมถึงการบริหารความเสี่ยงของกรมอนามัย ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่า ปรับปรุง การปฏิบัติงานและการบริหารงานอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งชื่อเสียงและภาพลักษณ์ (Image) ของกรมอนามัย เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ซึ่งรวมถึง

  1. ประเมินความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานในหน้าที่ของหน่วยรับตรวจ เสนอแนะการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง
  2. สอบทานระบบการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน และ/หรือกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่ส่วนราชการกำหนด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ตรงตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของกรมอนามัย
  3. การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการออกแบบระบบงาน วิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติงาน
  4. การพัฒนาบุคลากรกลุ่มตรวจสอบภายใน และภาคีเครือข่ายผู้ตรวจสอบภายในประจำหน่วยงาน

ความรับผิดชอบในการตรวจสอบ (Responsibility & Accountability)

กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมอนามัย ต้องปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามแผนการตรวจสอบ โดยการให้ความเชื่อมั่น การให้คำปรึกษา รายงานผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ประเมินผล ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ดังนี้

  1. กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกรมอนามัย โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของกรมอนามัย โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพของกิจกรรม การบริหารความเสี่ยง และความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของกรมอนามัยด้วย
  2. เสนอแผนการตรวจสอบประจำปีต่ออธิบดีพิจารณาอนุมัติภายในเดือนกันยายน โดยจัดลำดับหน่วยรับตรวจ ตามผลการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงกิจกรรมของหน่วยงาน
  3. ปฏิบัติงานตรวจสอบตามขอบเขตของงานตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ คู่มือ/แนวปฏิบัติการตรวจสอบภายใน หนังสือแจ้งเวียนที่เกี่ยวข้องต่างๆ
  4. ติดตามผลการตรวจสอบตามข้อเสนอแนะ ที่อธิบดีสั่งการ ภายในเวลาที่กำหนด เพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขของหน่วยรับตรวจเป็นไปตามข้อเสนอแนะ
  5. การให้คำปรึกษาต่อผู้บริหารทุกระดับ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม (Add Value) ลดความเสี่ยง และปรับปรุงการปฏิบัติงานของกรมอนามัย ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การให้คำปรึกษาแนะนำ การออกแบบระบบงาน วิธีการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรม
  6. รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานพร้อมวิเคราะห์ข้อตรวจพบ ผลกระทบ และข้อเสนอแนะที่สำคัญต่ออธิบดีกรมอนามัย จำนวน 4 ครั้ง คือ รอบ 3, 6, 9, 12 เดือน พร้อมเผยแพร่ให้หน่วยรับตรวจ และผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาองค์กร
  7. ปฏิบัติงานอื่นฯ ตามที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมอนามัย
 
 
 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

นโยบายกลุ่มตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ขนาดไฟล์ 1MB
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย
นโยบายและยุทธศาสตร์ของผู้บริหารหน่วยงาน.pdf
ขนาดไฟล์ 134KB
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย